ทำเครื่องดักยุงไฟฟ้า จากวัสดุเหลือใช้



   

   เข้าสู่หน้าฝนทีไรปัญหาที่มากับหน้าฝนก็คือน้ำเอ่อล้นเต็มท้องถนนทำให้การสัญจรลำบากแต่ที่
หนักใจยิ่งกว่าคือ ยุง ยุงนอกจากจะก่อความรำคาญแล้วมันยังมาพร้อมกับโรคร้ายต่างๆมากมาย 
บางรายถึงขั้นเสียชีวิตก็มี จึงเกิดมาตรการป้องกันต่างๆขึ้นมา หนึ่งในนั้นคือการใช้สารเคมีกำจัด
ยุงไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม ผลที่ตามมาคือปัญหาสุขภาพ ดังนั้น เครื่องดักยุงไฟฟ้าจึง
เข้ามาเป็นอีกทางเลือกนึงที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ณ ตอนนี้ แต่เมื่อตัดสินใจจะซื้อมาใช้มองไปที่ป้ายราคาแล้วคงต้องถอยออกอีกก้าวกว้างๆ เลยกลับมานั่งคิดว่าด้วยกับโครงสร้างง่ายๆของเจ้าตัวเครื่องดักยุงไฟฟ้านี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ใช้เพียงหลักการ ล่อแล้ว ดูดๆๆ มองดูรอบๆตัว อืม! เจ้าตัวเครื่องดักยุงไฟฟ้าทำเองน่าจะไม่ยากด้วยกับวัสดุรอบตัวเราที่กำลังจะเป็นขยะ ว่าแล้วก็ลุยเลย


อุปรกรณ์ในการทำเครื่องดักยุงไฟฟ้า 


ขวดพลาสติกน้ำอัดลม                             1 ขวด
หลอด LED ชนิดแสงอุลตร้าไวโอเลต         5 ตัว
ตัวต้านทาน 440 โอห์ม ¼ วัตต์                 5 ตัว
พัดลม DC 12V ขนาด 8*8 ซม.                1 ตัว
แจ็กอะแดปเตอร์ตัวเมีย                            1 ตัว
อะแดปเตอร์ 12V 1 A                             1 ตัว
สายไฟเส้นเล็ก
หัวแร้ง
ตะกั่วบัดกรี
ไดร์เป่าผม
ปืนยิงกาวแท่ง
กาวแท่ง
มุ้งลวด
ดินน้ำมัน
คีมตัด
คีมจับ
มีดคัทเตอร์
ปากกาเคมี


  ขั้นตอนการทำ


    สำหรับขั้นตอนการทำก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ตัวเครื่องดักยุงไฟฟ้าเราใช้ขวดน้ำพลาสติกโดยเลือกใช้ขวดน้ำอัดลมทรงกระบอกขนาด 1.25 ลิตร นำมาตัดเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนบนส่วนกลางและส่วนล่าง ส่วนบนเจาะรูไว้เพื่อดูดยุงเข้ามาโดยใช้แสงล่อ แสงล่อยุงนี้ใช้หลอดLED ชนิดแสงอุลตร้าไวโอเลต เพราะยุงมีการตอบสนองได้ดีกว่าหลอด LED สีน้ำเงินทั่วไปแต่ถ้าหาไม่ได้จะใช้ก็ไม่เป็นไร เวลาบัดกรีขาหลอด LED เว้นระยะห่างระหว่างหลอด LED ประมาณ 5.5 ซม. ตอนที่ใส่ลงไปในส่วนของฝาครอบพัดลมจะพอดีกับช่องที่เจาะไว้


สำหรับวงจรเครื่องดักยุงไฟฟ้า



   ส่วนกลางของขวดสำหรับยึดติดพัดลมซึ่งพัดลมใช้ขนาด 12 โวลท์ดีซี จากซัพพลายคอมเก่าๆซึ่ง
เขาจะใช้ชนิด BRUSHLESS FAN หมดปัญหาอาการมอเตอร์ไหม้เวลาใบพัดติด พัดลมเราเลือกเอาขนาด 8*8 ซม. ด้านที่ดูดลมเข้ามาจะเป็นลักษณะทรงกลมเพื่อใช้ยึดส่วนบนของขวดพลาสติก 
และฐานพัดลมเป็นทรงสี่เหลี่ยมเพื่อจับส่วนกลางของขวดพลาสติก โดยใช้ปืนยิงกาวแท่งยึดไว้ 
ส่วนกลางต้องหาขวดน้ำหรือกระป๋องทรงกระบอกสวมไว้แล้วใช้ไดร์เป่าผมหรือเครื่องเป่าลมร้อน
เป่าเพื่อลดขนาดปลายของส่วนกลางให้สามารถสวมใส่กับส่วนล่างได้ ส่วนล่างเป็นส่วนที่เก็บยุงที่
ถูกดูดลงมา เราจะใส่ดินน้ำมันถ่วงไว้เพื่อให้เกิดน้ำหนักกับฐานล่างเพราะตัวขวดพลาสติกมีน้ำ
หนักเบาและง่ายแก่การล้มเมื่อมีอะไรมากระทบ


   การใช้งาน


   ก็เพียงแต่นำตัวเครื่องดักยุงไฟฟ้าไปวางในห้องบริเวณที่คิดว่าสามารถมองเห็นได้ง่ายๆจากบริเวณที่วาง
แล้วเสียบไฟจากอแดปเตอร์ทิ้งไว้ทั้งคืนพอรุ่งเช้าก็มาดูผลงาน จากการที่ได้ทดลองใช้งานเครื่อง
ดักยุงไฟฟ้าตัวนี้นับว่าเป็นที่พอใจที่เดียวไม่เพียงแต่ยุงเท่านั้นที่ถูกดูดแมลงที่ใหญ่กว่าก็ยังถูกดูด
 นับว่าแรงลมดูดแรงใช้ได้เลย แต่เครื่องดักยุงไฟฟ้ทตัวนี้ใช้ได้ดีกับยุงที่ออกหากินในตอนกลางคืน
เท่านั้น สำหรับยุงในตอนกลางวันใช้ไม่ได้ผลเพราะมันไม่ได้ใช้แสงแต่ใช้กลิ่นในการออกหากิน 
หวังว่าจะมีความสุขกับโครงงานนี้ครับ

โพสต์แนะนำ

Samsung Plasma PS-50P3H LED กระพริบ 9 ครั้ง

       วิธีตรวจเช็ค Samsung Plasma PS-50H3H  อาการเปิดไม่ติด LED หน้าเครื่องกระพริบ 9 ครั้งแล้วดับ ซึ่งสาเหตุมาจากไฟสูงไม่ทำงาน ขั้นตอนการต...